แม้ว่าฝรั่งเศสจะเป็นรัฐฆราวาส แต่วันสำคัญต่าง ๆ
กลับเกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นส่วนใหญ่ อาจด้วยเหตุบังเอิญว่าวันต่าง ๆ
เหล่านี้ส่วนใหญ่ตรงกับวันอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาคริสต์
วันขึ้นปีใหม่ (Jour de l’an) 1 มกราคม วันนักขัตฤกษ์ ตรงกับวันแรก
ของปีตามตารางปฎิทินสากล ในประเทศฝรั่งเศส
วันขึ้นปีใหม่
10 มกราคมนี้เริ่มกำหนดใช้ในปี ค.ศ. 1564 และ วันที่
31 ธันวาคมถือว่าเป็นการฉลองคืนส่งท้าย
ปีเก่าเพื่อต้อนรับขึ้นวันปีใหม่ด้วย ในวันขึ้นปีใหม่นี้ ถือเป็นโอกาสที่จะให้ของขวัญ
(เงิน) กับเด็ก ๆ
เอพิพานี (Epiphanie)
เทศกาลของชาวคริสเตียน ในโบสถ์ละติน
เป็นการฉลองการมาเยี่ยม พระเยซูของ Rois mages โดยธรรมเนียม มีการทานขนมหวาน เค้ก (รูปทรงมงกุฎในทางตอนใต้) หรือ กาแลตดูครัว (ทางเหนือของฝรั่งเศส) จัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกของเดือนมกราคม
ชองเดอเลอ (Chandeleur)
2 กุมภาพันธุ์ วันทางศาสนาของชาวคริสเตียน แรกเริ่มมาจาก เทศกาลแสงไฟ ในปี ค.ศ. 472
เทศกาลนี้ได้กลายเป็นการเฉลิมฉลองการเป็นตัวแทนของ พระเยซูภายในโบสถ์ตามธรรมเนียมมีการทำขนมเครป
แล้วโยนขึ้นกลับด้านโดยกำเงินไว้ในมือ อีกข้างเพื่อถือเป็นการนำโชคดีมาสู่ตัวผู้โยน
มาร์ดี-กรา (Mardi-gras)
เทศกาลของชาวคาทอลิก เมื่อวันสิ้นสุด 7
วันหลังเทศกาลงานรื่นเริง (ซึ่งผ่านมื้ออาหารกันมาตลอดสัปดาห์) วันนี้กำหนดขึ้น 47
วันก่อนเทศกาลอีสเตอร์ และเป็นการ เริ่มต้นของกาเรม
(เทศกาลถือศีลอด) สัญลักษณ์ของเทศกาลนี้คืองานกานาวาล
(ซึ่งมีความหมายถึงการเอาเนิ้อออก หรือการเริ่มต้นการถือศีล)
ตามธรรมเนียมต้องการให้ชาวบ้านแต่งตัวหลากหลายในวันนั้น (ในทุกวันนี้กลายเป็นเด็ก
ๆ ) ในบางหมู่บ้านมีการเผาตุ๊กตากานาวาลในวันงานด้วย
Mercredi
des Cendres
เทศกาลของชาวคาทอลิก
เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นเทศกาลถือศีลอด เป็นสัญลักษณ์ให้เตือนถึงการตาย
อาทิตย์แรกของเทศกาลศีลอด (1er dimanche de Carême) ไม่มีกิจกรรมใด
ๆ พิเศษ
พฤหัสบดีกลางเทศกาลศีลอด (Jeudi de la Mi-cerême) เป็นสัญลักษณ์ครึ่งนึงของช่วง
เทศกาลถือศีลอดที่มี 40 วัน(โดยไม่นับวันอาทิตย์)
ตรงกับวันพฤหัสบดีของอาทิตย์ที่ 3 ของตลอดระยะเวลาเทศกาลถือศีล
เป็นการพักของช่วงการถือศีล ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยฉลองกันนัก
Dimanche
des Rameaux
รำลึกการเดินทางถึงนครเยรูซาเลมของพระเยซู และความรักของ พระเยซุคริสต์และการเสียชีวิตบนไม้กางเขน
วันอาทิตย์อีสเตอร์ (Dimanche de Pâques)
3 วันหลังจากวันสิ้นชีพของพระเยซุ พระเยซูได้
ฟิ้นคืนชีพ เทศกาลอีสเตอร์เป็นวันสำคัญที่สุดของปฎิทินชาวคริสต์
เป็นสัญลักษณ์ของวันสิ้นสุด
ของเทศกาลถือศีลอด วันอีสเตอร์สอดคล้องกับวันอาทิตย์แรกต่อจากวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูใบไม้ผลิ
ชาวคริสต์ต้องหยุดงานเพือ่ไปสวดมิซซา
ในวันนี้พระสันตปะปาจะประทานพรในฝรั่งเศสตามธรรมเนียมทำการมอบไข่ (ชอกโกแลต)
หรือของประดับธรรมเนียมอิ่น ๆเกี่ยวกับอาหาร : ทานแกะ
วันจันทร์อีสเตอร์ (Lundi de Pâque)
ในยุคกลางตลอดสัปดาห์หลังเทศการอีสเตอร์เป็นสัปดาห์นักขัตฤกษ์
ในปัจจุบันเหลือลงเพียงวันจันทร์ และไม่ใช่งานฉลองที่เคยทำอย่างสม่ำเสมอ
ในกรณีของฝรั่งเศสไม่มีการฉลองเป็นพิเศษ
วันนำสาร (Annonciation)
25 มีนาคม ตามศาสนาคริสต์ เทวดากาเบรียล
นำสารมาบอกมารีถึงการตั้งครรภ์พระเยซู 9
เดือนก่อนวันคริสต์มาสถือได้ว่าเป็นวันจุติของพระเยซู
วันรำลึกการถูกคุมตัว(Souvenir déportés)
เป็นวันระลึกถึง 150000
ฝรั่งเศสที่ถูกนำตัวไปเข้าค่ายกักกันของนาซี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
วันรำลึกนี้จัดอยู่ในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายนวันรำลึกนี้จัดอยู่ในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายน
วันแรงงาน ( Fête du travail)
1 พฤาภาคม
เป็นธรรมเนียมของผู้ใช้แรงงานในการต่อสู้ที่มีอยู่ทั่วโลก
ในประเทศส่วนใหญ่จัดเป็นวันหยุดประจำปี ประเทศฝรั่งเศสเริ่มต้นในปี 1919 และในปี
1947 เป็นวันหยุดเต็มวันโดยได้รับค่าแรงด้วย ในวันนี้สหภาพแรงงานต่าง ๆ
จะเดินขบวนกันตามเมืองต่าง ๆ ของประเทศ และมีการมอบช่อดอกมูเก้ด้วย
วันกลับคืนสู่สวรรค์ (Jeudi de l’Ascension)
เป็นการฉลอง 39 วันหลังจากเทศกาลอีสเตอร์ หลังจากลงมาเผยแพร่คำสอน พระเยซุก็ได้เสด็จกลับขึ้นสวรรค์์
วันฉลองชัยชนะ (Victoire 1945)
ชัยชนะทีมีต่อเยอรมันในยุคการครอบครองโดยทหารนาซี สันติภาพได้กลับคืนสู่ทวีปยุโรป โดยสัญญาสงบศึกที่ทำขึ้นในวันที 8 พฤษภาคม
1945 เวลาประมาณเที่ยงคืน โดยมีนายพลโซเวียต Jpukov ฝ่ายนาซี
Keitel ผู้แทนจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และนายพล de
Lattre ของฝรั่งเศส เป็นวันนักขัตฤกษ์ตั้งแต่ปี 1953
แต่ได้ถูกยกเลิกไปในสมัย V.Giscard d’Estaing และได้กลับมากำหนดใหม่ในยุคของ
F.Mitterrand 1 มิถุนายน 1981
วันอาทิตย์ปงโตโค๊ต (Dimanche de Pentecôte)
เป็นวันเทศกาลของชาวคริสต์ กำหนดขึ้น7
อาทิตย์หลังเทศกาลอีสเตอร์ เพื่อรำลึกถึงวิญญาณศักด์สิทธิ์ที่ลงมาจาก...
ทรินิเต้ (Trinité)
วันเทศกาลของชาวคริสต์ อาทิตย์ที่ 8
หลังจากเทศกาลอีสเตอร์ ปัจจุบันไม่ค่อยมีการเฉลิมฉลองมากนัก ในศาสนาคริสต์
ทรินิเต้เป็นการกล่าวถึงพระเจ้าใน 3 บุคคล พระบิดา บุตร และพระจิต
วันพระเจ้า (Fête Dieu)
ฉลองในวันพฤหัสบดีถัดจากวันทรินิเต้
(หรืออาจวันอาทิตย์ขึ้นอยู่กับทางปฎิบัติ) ฉลองถึงความเสียสละของพระคริสต์
โดยมีการแบ่งขนมปัง
วันแม่ (Fête des mères)กำหนดเป็นทางการในปี 1928
กำหนดไว้ในวันอาทิตย์สุดท้ายของ
เดือนพฤษภาคม
(หรือกรณีพิเศษเลื่อ่นไปในเดือนมิถุนายนหากชนกับปงโดโค๊ต) ในปัจจุบัน
กลายเป็นการค้าและเป็นวันที่ชื่นชอบของเด็ก ๆ
วันพ่อ (Fête des pères)
เช่นเดียวกับวันแม่ แต่มีกำหนดขึ้นเป็นทางการในปี
1952
วันชาติ (Fête Nationale)
รำลึกถึงวันแห่งการปฎิวัติของฝรั่งเศส 1789
โดยเฉพาะการทำลายคุกบาสตีล ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1978
คุกบาสตีลเป็นคุกสำคัญของปารีส และเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจกษัตริย์ ในวันที่ 14
กรกฎาคม 1789 ชาวกรุงปารีสได้ทำการเผาและเข้ายึดคุก การเข้ายึดคุกบาสตีลนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
วันอัสสัมซิยง (Assomption)
15 สิงหาคม
วันทางศาสนาของชาวคาทอลิกที่ทำการฉลองในการที่พระแม่มารีขึ้นสู่สรวงสวรรค์
เป็นวันสำคัญกลางฤดูร้อนมีการ........
Croix
glorieuse
14 กันยายน กำหนดโดยจักรพรรคดิ์กองสตองแตง ในปี ค.ศ.
335 ในปัจจุบันมีการฉลองในวันนี้ไม่มากนัก
ตุสแซง (Toussaint)
1 พฤศจิกายน วันทางศาสนาของชาวคาทอลิก
ในการเฉลิมฉลองให้กับทุกนักบุญโดยโบสถ์โรมัน
ในวันนี้ได้กลายเป็นวันเยี่ยมหลุมฝังศพ เพือ่วางดอกไม้กับผู้เสียชีวิตไปแล้ว
และดอกคริสซองแตม
เดฟัน (Défunts)
2 พฤศจิกายน ในฝรั่งเศสรวมกันกับวันหยุดตุสแซง วันสิ้นสุดสงคราวโลกครั้งที่ 1 (Armistice 1918) 11
พฤศจิกายน 1918 รำลึกถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
โดยมีการเซ็นสัญญายุติสงครามมที่ Rethondes ป่า Compiège
(Oise)
Christ
Roi
วันทางศาสนาของชาวคาทอลิกอาทิตย์สุดท้ายของปี 5
อาทิตย์ก่อนคริสต์มาส Avent ช่วงเวลาหลังจากคริสต์มาส
ระหว่าง 3-4 สัปดาห์
คริสต์มาส (Noël)
เป็นเทศกาลการเกิดของพระเยซูคริสต์ มีการกำหนดขึ้นในปี ค.ศ.
354 โดยสันตปะปา Libère มีการประดับตกแต่งในวันที่
24 ธันวาคมตอนเย็น ด้วยต้นสน คอกเด็ก ของขวัญ
และทานอาหรระหว่างครอบครัว เทศกาลนี้ยังกลายเป็นสัญสักษณ์การทำค้าขาย อย่างมหาศาล
วันครอบครัว (Saint famille)
ต่อจากคริสต์มาส
(อาทิตย์หรือศุกร์ถัดไปหากวันคริสต์มาส ตรงกับวันอาทิตย์)เป็นการสร้างครอบครัวโดยเยซูและมีบุพการีคือ
มารีและโยเซพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น