วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ตัวกินมดยักษ์สิ่งมีชีวิตที่นอน 15 ชั่วโมงต่อวัน

ในภาพอาจจะมี พื้นหญ้า, สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ

ตัวกินมดยักษ์ จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ไม่มีฟัน มีรูปร่างใหญ่ มีความยาวประมาณ 182 – 217เซนติเมตร ลิ้นมีความยาว 60 เซนติเมตร ลิ้นของมันยังปกคลุมไปด้วยน้ำลายเหนียว โดยจะกินมด ปลวก และด้วงตัวอ่อนเป็นอาหาร ตัวกินมดยักษ์จะใช้เวลาในการนอนหลับประมาณ 15 ชั่วโมงต่อวัน

ทะเลสาบเกรตซอลต์ (Great Salt Lake)

ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ

ตั้งอยู่ในรัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีขนาดความยาว 120 กิโลเมตร กว้าง 50 กิโลเมตร โดยได้รับน้ำมาจากแม่น้ำแบร์ แม่น้ำจอร์แดน และแม่น้ำเวเบอร์ ถือเป็นทะเลสาบเกลือที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันตก บริเวณตรงกลางทะเลสาบมีเส้นทางรถไฟคั่นกลางอยู่ จึงทำให้ระดับน้ำของทั้งสองฝั่งไม่เท่ากัน ส่งผลต่อความเค็มที่อยู่ในน้ำจนทำให้มีสีสันที่ต่างกัน

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

ซาลาร์ เดอ อูยูนี (Salar de Uyuni)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Salar de Uyuni

ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของโบลิเวีย ห่างจากกรุงลาปาซเมืองหลวงของโบลิเวียประมาณ 185 ไมล์ค่ะ สำหรับประเทศโบลิเวีย (Bolivia) นั้นนับว่าเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ซึ่งโดยแต่เดิมนั้นโบลิเวียเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอินคา ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มาก่อน ซึ่งโดดเด่นในเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยวแปลกๆ และก็คงหนีไม่พ้น ทะเลเกลือที่ซาลาร์ เดอ อูยูนี ซึ่งถ้าว่ากันตามจริงแล้ว ที่ราบเกลือ หรือทะเลเกลือลักษณะแบบนี้มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน แต่ด้วยความที่ทะเลเกลือซาลาร์ เดอ อูยูนีนั้นมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมากถึง 10,582 ตารางกิโลเมตรเลยทีเดียว  ทำให้เราสามารถมองที่ราบสีขาวโพลนนี้ไปไกลสุดลูกหูลูกตาได้ด้วยความอะเมซซิ่งค่ะ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Salar de Uyuni

แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ ทำไมถึงมีทะเลเกลือพื้นที่มหาศาลแบบนี้มาตั้งอยู่ในประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเลย จึงมีคนสันนิษฐานไว้ว่าทะเลเกลือแห่งนี้แท้จริงแล้วเป็น ทะเลสาบที่มีมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ค่ะ จนเวลาผ่านพ้นไปหลายๆ ปี หลังจากที่สภาพอากาศเริ่มแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล สุดท้ายทะเลสาบเลยค่อยๆ เหือดแห้ง จนกลายเป็นทะเลสาบที่มีเกลืออัดแน่นอยู่ประมาณ 10 พันล้านตันเลยทีเดียว แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เหลือเค้าของทะเลสาบอยู่เลยเสียทีเดียว เพราะพื้นที่บางส่วนก็ยังมีน้ำเค็มหลงเหลือให้ชมอยู่บ้างค่ะ

วันอังคารที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วัดคิโยมิสึ หรือ วัดน้ำใส (Kiyomizu-dera) ในประเทศญี่ปุ่น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดคิโยมิสึ น้ําสามสาย
วัดคิโยมิสึ (Kiyomizu – dera) หรือเรียกว่า “วัดน้ำใส” ตั้งอยู่บนเนินเขา ฮิงายามา สาเหตุที่เรียกว่า “วัดน้ำใส” ก็เนื่องมาจากมีน้ำศักดิ์สิทธิ์จากแม่น้ำ 3 สาย ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไหลมาจากเทือกเขา สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 788 (สมัยนาระ ประมาณปี พ.ศ. 1321) เพื่อถวายแด่ พระโพธิสัตว์กวนอิม 11 พักต์ หรือสร้างขึ้นมาก่อนที่เกียวโตจะเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่น วัดคิโยมิสึ จึงถือว่าเป็นมรดกโลกอันเก่าแก่กว่า 1,500 ปี
ทางเข้าวัดจะเป็นเจดีย์ 3 ชั้น หลังใหญ่ตั้งตะหง่านอยู่ ชื่อว่าเจดีย์ซันจุโนโตะ เข้าไปภายในมีศาลาประดิษฐานพระโพธิสัตว์ แต่ที่ขึ้นชื่อของวัดนี้คือ ระเบียงของศาลาหลังใหญ่ที่ตั้งอยู่บนไหล่เขา ด้วยเสาไม้ต้นมหึมา หลายอัน เมื่อขึ้นไปยืนที่ระเบียง สามารถมองเห็นตัวเมืองได้ชัดเจน
วัดคิโยมิสึยังมีสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง คือ วิหารที่มีระเบียงไม้ยื่นออกมานอกตัวอาคาร ซึ่งมีเสาค้ำยันถึง 139 ต้น อีกทั้งยังเป็นการก่อสร้างอาคารโดยการใช้สลักยึดอาคาร แทนการใช้ตะปูยึดอีกด้วย จุดเด่นอยู่ที่การสร้างวิหารริมเชิงเขา ซึ่งใช้ไม้ซุงขนาดใหญ่ ประมาณ 130 ต้นซ้อนกันขึ้นไปเป็นฐาน ข้างใต้อาคาร คือ น้ำตกโอตะวะ ซึ่งเป็นสายน้ำ 3 สาย ไหลลงสู่บ่อน้ำ ผู้มาเยี่ยมชมวัดมักจะมาดื่มน้ำจากน้ำตกนี้ด้วยกระบวยโลหะ กระบวยที่ใช้ตักน้ำทางวัดจะมีวิธีการฆ่าเชื้อที่รวดเร็วหลังจากการรองน้ำดื่มแล้ว ก็ให้นำกระบวยเข้าช่องฆ่าเชื้อด้วยแสงอุลตราไวโลเลต การดื่มน้ำจากน้ำตกนี้มีความเชื่อว่าสามารถบำบัด รักษโรคภัยไข้เจ็บได้ และยังเชื่อกันว่า น้ำสายที่ 1 ถ้าใครดื่มจะประสบความสำเร็จด้านการศึกษา น้ำสายที่ 2 จะสมหวังในความรัก น้ำสายที่ 3 จะมีสุขภาพแข็งแรง
ภายในบริเวณวัดเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าอื่น ๆ จำนวนมาก ที่เป็นที่รู้จักดี คือ ศาลเจ้าจิซู (Jishu – jinja) ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อสักการะเทพ โอคุนิ นุชิโนะ มิโคโตะ (Okuninushino Mikoto) เทพแห่งความรักและเนื้อคู่ภายในศาลเจ้ามี “ก้อนหินแห่งความรัก” 2 ก้อน ตั้งอยู่ห่างกัน 18 เมตร เชื่อกันว่า หากสามารถหลับตาเดินจากก้อนหินหนึ่ง ไปยังอีกก้อนหินหนึ่ง จะสมปรารถนาด้านความรัก
วลีที่กล่าวว่า “กระโดดจากระเบียงวัดคิโยมิสึ” มีความหมายพ้องกับ คำกล่าวภาษาอังกฤษที่ว่า “To Take the plunge”  ซึ่งหมายความว่าตัดสินใจกระทันหัน หรือกล้าตัดสินใจ วลีนี้ที่มาจากความเชื่อในสมัยเอโดะ ที่ว่า หากผู้ใดสามารถกระโดด จากระเบียงวัดแล้วยังมีชีวิตรอดได้ ความปรารถนาของผู้นั้นจะสัมฤทธ์ผล คำอธิบายที่น่าเป็นไปได้ ในการรอดชีวิตจากการกระโดดระเบียง คือ ด้านล่างของระเบียงมีต้นไม้หนาแน่น ซึ่งอาจชะลอแรง จากการตกได้บ้าง แต่ในปัจจุบันทางวัดห้ามไม่ให้มีการกระโดระเบียง แต่ในสมัยเอโดะ มีบันทึกไว้ว่า มีผู้มากระโดดถึง 234 คน รอดชีวิตได้คิดเป็นร้อยละ 85.4 ของทั้งหมด
วัดคิโยมิสึ ได้รับการดูแลทำนุบำรุงอย่างดี จากรัฐและชาวเกียวโต ทำให้สภาพวัดและโบราณสถานทางพุทธศาสนา ยังคงความเก่าแก่และสมบูรณ์แบบมาก ทำให้องค์การยูเนสโก ยกย่องให้เป้นมรดกโลกแห่งหนึ่งและถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเกียวโต
Cr. http://www.planetworldwide.com

วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

หอนาฬิกาบิ๊กเบน ( Bigben )

 หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Clock Tower, Palace of Westminster) หรือรู้จักดีในชื่อ บิ๊กเบน เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้างหลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รี เป็นผู้ออกแบบ หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตร โดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วย สถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (victorian gothic)

        หลายคนเข้าใจว่าบิกเบนเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ แต่แท้ที่จริงแล้ว บิกเบนเป็นชื่อเล่นของระฆังใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวน ไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิกเบนจะถูกตีบอกชั่วโมงตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ทว่าคนส่วนใหญ่กลับใช้ชื่อบิกเบนเรียกตัวหอทั้งหมด

        บางทีมักเรียกหอนาฬิกานี้ว่า หอเซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Tower) หรือหอแห่งบิกเบน (Tower of Big Ben) ซึ่งที่จริงแล้วชื่อหอเซนต์สตีเฟนคือ ชื่อของหอในพระราชวังอีกหอหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นทางเข้าไปอภิปรายในสภา ปัจจุบันภายในหอนาฬิกาไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เว้นแต่สำหรับผู้ที่อาศัยใน ประเทศอังกฤษ จะต้องทำเรื่องขอเข้าชมผ่านสมาชิกรัฐสภาอังกฤษประจำท้องถิ่นของตน ถ้าเป็นเด็กต้องมีอายุเกิน 11 ปี จึงจะเข้าชมหอได้ สำหรับชาวต่างประเทศนั้นยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไป

        หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ มีความสูงทั้งหมด 96.3 เมตร โดยในช่วง 61 เมตรแรก เป็นอาคารก่อด้วยอิฐ บุด้วยหิน ส่วนที่สูงจากนั้นเป็น ยอดแหลมทำด้วยเหล็กหล่อ ตัวหอตั้งอยู่บนฐานกว้าง 15 เมตร ยาว 15 เมตร หนา 3 เมตร อยู่ใต้ดินลึก 7 เมตร ตัวหอทั้งหมดหนักโดยประมาณ 8,667 ตัน หน้าปัดนาฬิกาทั้งสี่ด้านอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร เนื่องจากสภาพดินในขณะที่มีการก่อสร้างหอ ทำให้ตัวหอค่อนข้างเอนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 220 มิลลิเมตร


 

หน้าปัดนาฬิกา
        ครั้งหนึ่ง หน้าปัดนาฬิกาของหอมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันถูกทำลายสถิติโดยหอนาฬิกาอัลเลน-แบร็ดเลย์ (Allen-Bradley Clock Tower) ที่รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ทว่าผู้สร้างหอนาฬิกาอัลเลน-แบร็ดเลย์มิได้จัดให้มีการตีระฆังหรือสายลวดบอกเวลา จึงทำให้หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ยังคงเป็น นาฬิกาสี่หน้าปัดที่มีการตีบอกเวลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก กลไกนาฬิกาภายในหอสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2397 แต่ตัวหอเสร็จในเวลา 4 ปีต่อมา

        หน้าปัดนาฬิกาถูกออกแบบโดยออกุสตุส ปูจิน (Augustus Pugin) ตัวหน้าปัดทำด้วยโครงเหล็กกว้างและยาว 7 เมตร ประดับด้วยกระจก 576 ชิ้น เข็มสั้นมีความยาว 2.7 เมตร เข็มยาวมีความยาว 4.3 เมตร รอบ ๆ หน้าปัดประดับด้วยลายทองอย่างวิจิตร ใต้หน้าปัดสลักดุนเป็นข้อความภาษาละตินว่า DOMINESALVAM FAC REGINAM NOSTRAM VICTORIAM PRIMAM ซึ่งแปลว่า "โอ้ พระเจ้าข้า จงประทานความปลอดภัยให้พระนางวิกตอเรีย ด้วยเถิด"

        นาฬิกาเริ่มเดินครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2402 ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพเยอรมันได้ทิ้งระเบิดทำลายรัฐสภาอังกฤษ และทำความเสียหายให้กับหน้าปัดด้านทิศตะวันตกเป็นอย่างมาก
ระฆัง "บิกเบน"
 
        ระฆังที่แขวนไว้ในหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหาระฆัง (The Great Bell) โดยทำการหล่อครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2399 โดยวอร์เนอร์ออฟคริปเปิลเกต (Warner's of Cripplegate) หนัก 14.5 ตัน มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เบนจามิน ฮอลล์ (Benjamin Hall) เป็นแม่กองในการหล่อครั้งแรกนี้ จึงใช้ชื่อเล่นของเขาเป็นชื่อเล่นของระฆัง บางที่ก็ว่าระฆังอาจถูกตั้งชื่อหลังจากที่นักมวยรุ่นเฮฟวี่เวตชื่อ เบนจามิน เคานต์(Benjamin Caunt)

        มหาระฆังหรือบิกเบน เป็นระฆังหนึ่งในห้าใบที่แขวนไว้ในหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ เมื่อตีจะให้เสียงโน้ต "ลา" ส่วนระฆังอีกสี่ใบที่เหลือมีเสียงโน้ตซอลสูง ฟาสูง มี และที ตามลำดับ



 
        ขณะที่หอนาฬิกายังสร้างไม่เสร็จ มหาระฆังถูกแขวนไว้ในพระราชอุทยานพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ แต่กลับแตกเมื่อถูกตีด้วยค้อนที่หนักเกินไป จึงให้หล่อใหม่ที่บริษัทระฆังไวต์แชพเพล (Whitechapel Bell Foundry) ครั้งนี้ระฆังหนัก 13.76 ตัน สูง 2.2 เมตร และกว้าง 2.6 เมตร มหาระฆังถูกนำขึ้นแขวนในห้องระฆังบริเวณช่องลมของตัวหอ เมื่อปี พ.ศ. 2446 พร้อมด้วยระฆังเล็ก ใช้เวลาทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง จึงสำเร็จ ต่อมาในเดือนกันยายนของปีถัดมา มหาระฆังก็ร้าว แต่ก็แก้ไขโดยการหมุนระฆังมิให้ส่วนที่ร้าวถูกตี และก็ไม่ได้ทำการซ่อมแซมมาจนถึงปัจจุบัน

        ที่หอนาฬิกามีการตีระฆังเล็กทุก ๆ 15 นาที เป็นทำนองระฆังแบบเวสต์มินสเตอร์ และจะตีด้วยทำนองที่ต่างกันเล็กน้อยทุก 15 นาที เมื่อครบหนึ่งชั่วโมงจะมีการตีระฆังเล็ก ตามด้วยเสียงของบิกเบนตามจำนวนเลขที่เข็มสั้นชี้ เมื่อได้ฟังแล้วก็จะเป็นที่จับใจยิ่งนัก จนกระทั่งเสียงนี้เป็นที่นิยม ทั้งนาฬิกาตั้งในบ้านและหอนาฬิกา เสียงของระฆังในหอนาฬิกาถูกนำออกอากาศทุกวัน ผ่านทางสถานีวิทยุบีบีซีช่อง 4 ก่อนข่าวภาคค่ำ (เวลา 18 นาฬิกา) และข่าวเที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่นประเทศอังกฤษ
สำหรับเสียงของระฆัง (เฉพาะเสียง ตีบอกเวลา 12:00 น. และ 24:00 น.)
 
 
ความเที่ยงตรง
 
        นาฬิกาประจำหอนั้นมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านความเที่ยงตรงโดยกลไก นาฬิกาถูกออกแบบโดยเอ็ดมุนด์ เบ็กเกตต์ เดนิสัน (EdmundBeckett Denison) และถูกสร้างขึ้นโดยเอ็ดเวิร์ด จอห์น เดนต์ (EdwardJohn Dent) กลไกของนาฬิกาถูกสร้างขึ้นก่อนตัวหอเสร็จถึง 4 ปี ทำให้เอ็ดมุนด์ เดนิสัน มีเวลาที่จะทดสอบความแม่นยำ ซึ่งแทนที่เขาจะใช้กลไกแบบลูกตุ้มแกว่งไม่หยุด(deadbeat escapement) ซึ่งสึกหรอง่าย เพราะลูกตุ้มยังแกว่งแม้เฟืองจะล็อกแล้ว แต่เขากลับใช้กลไกแบบอาศัยแรงโน้มถ่วง (gravity escapement)ประกอบด้วยลูกตุ้มและตัวขับลูกตุ้ม(escapement) บรรจุในกล่องกันลมอย่างดีและเก็บอยู่ที่ใต้ห้องนาฬิกา

        จนทำให้นาฬิกามีความแม่นยำอย่างยิ่ง กลไกที่เป็นเฟืองของนาฬิกาทั้งหมดวางอยู่บนโต๊ะรองรับสีเขียวแก่ ที่ขอบโต๊ะจารึกข้อความด้วยลายทองว่า "THIS CLOCK WAS MADE IN THE YEAR OF OUR LORD 1854 BY FREDERICK DENT OF THE STRAND AND THE ROYAL EXCHANGE CLOCKMAKER TO THE QUEEN, FROM THE DESIGNS OF EDMUND BECKETT DENISON Q.C." แปลเป็นไทยได้ว่า " นาฬิกาเรือนนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2397 (ค.ศ. 1854) โดยเฟรเดอริก เดนต์ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย โดยการออกแบบของเอ็ดมุนด์ เบ็กเกตต์ เดนิสัน"

 
        ลูกตุ้มนาฬิกาสามารถปรับตั้งได้เสมอโดยการใส่เหรียญเพนนีที่ลูกตุ้มของนาฬิกา เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งศูนย์กลางมวลของลูกตุ้ม ทำให้คาบการเคลื่อนที่เปลี่ยนถ้าใส่เหรียญลงไปนาฬิกาก็เดินช้าลง แต่ถ้าเอาออกก็จะเร็วขึ้น จนเกิดสำนวนอังกฤษว่าputting a penny on แปลเป็นสำนวนไทยว่า โอ้เอ้วิหารรายคือทำตัวโอ้เอ้ หรือทำให้ช้ายืดยาด

คุณไข่มุกด์ ชูโต

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไข่มุกด์ ชูโต


ไข่มุกด์ ชูโต คือใคร?

ท่านเป็นบุคคลสำคัญที่มีฝีมือในงานปั้นเป็นอย่างมาก จนถือได้ว่าเป็น “ประติมากรหญิงคนแรกของเมืองไทย”

ประวัติของคุณ ไข่มุกด์ ชูโต

ชื่อจริง : ไข่มุกด์ ชูโต
วันเกิด : วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
ครอบครัว : เป็นบุตรีของพระมัญชุวาที (โชติ ชูโต) อธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ มารดาชื่อนางมัญชุวาที (แอ๋ว ชูโต) ข้าหลวงในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ นางสาวสีทอง ชูโต ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ของ องค์การสหประชาชาติ ประจำอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
การศึกษา : เริ่มเรียนที่โรงเรียน เริ่มศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ใกล้ๆ บ้านระยะหนึ่งแล้ว ย้ายไปเข้าโรงเรียนราชินีตั้งแต่อนุบาล เมื่อจบชั้นมัธยม ๘ จึงสอบเข้าศึกษาต่อคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
การทำงาน : เมื่อจบการศึกษาเริ่มทำงานครั้งแรกที่แผนกศิลป องค์การยูซ่อม (USOM) ทำโปสเตอร์ จัดรูปเล่ม และทำหนังสือ ระหว่างทำงานที่ยูซ่อมก็รับทำงานปั้นและงานเขียนเป็นการส่วนตัวด้วย ทำงานยูซ่อม ๒ ปี ได้ลาออกไปทำงานที่บริษัทเกสเต็ตเนอร์ ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกศิลปะ ๒ ปี
คุณไข่มุกด์ ชูโต ต้องการเวลาทำงานด้านศิลปะให้เป็นส่วนตัวจริงๆ เพื่อสร้างงานฝีมือให้ดีที่สุด จึงลาออกมาเป็นช่างอิสระ รับงาน ด้านประติมากรรมอยู่กับบ้าน มีงานสร้างอนุสาวรีย์เล็กๆ ปั้นภาพเหมือนบุคคลและสัตว์ ตลอดจนเขียนภาพ แลนด์สเคป รับตกแต่งสวนภายในบ้าน ตกแต่งห้องจนเริ่มมีชื่อเสียง
พ.ศ. ๒๕๑๑ นายชูพาสน์ ชูโต ผู้เป็นญาติและรับราชการอยู่ในสำนักพระราชวัง ได้พาเข้าถวายตัวต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อปฏิบัติงานด้านประติมากรรมถวาย ซึ่งคุณไข่มุกด์ ชูโต ได้ปฏิบัติงานถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ แรกเข้าทำงาน

ผลงานของคุณ ไข่มุกด์ ชูโต

  • -ปั้นรูปประดับผนังทั้ง ๔ ด้าน เรื่อง ทศชาติ หล่อด้วยพลาสเตอร์ ติดตั้งไว้ที่ท้องพระโรงห้องไทย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน จำนวน ๖ แผง
  • -พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประทับบนพระเสลี่ยงกง เพื่อพระราชทานไว้ตามฐานทัพต่างๆ
  • -พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยืนหลั่งทักษิโณทก จากพระสุวรรณภิงคาร
  • -พระรูปสมเด็จพระสุริโยทัย ทรงยืน ทรงพระแสงของ้าว ทรงเครื่องศึก
  • -รูปสมเด็จพระสุริโยทัย ครึ่งพระองค์
  • -รูปเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (พระยานรรัตนราชมานิต – ตรึก จินตยานนท์) พร้อมด้วยพระพุทธรูปประจำวันเกิดของท่าน ไว้ที่หอบรรจุอัฐิเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร
  • -ปั้นรูปกินนรและกินรี พ่อ แม่ ลูก และปั้นรูปสิงห์ ตั้งไว้ที่พระตำหนักสิริยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • -พระพุทธรูปปางประทานพร สมัยคันธารราษฎร์
  • -พระพุทธรูปยืน สมัยคันธารราษฎร์
  • -พระพุทธบรมนาถเบญจสิริสุริโยทัย ขนาดหน้าตัก ๙.๙ นิ้ว
  • -พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวช ทรงยืน และประทับนั่ง
  • -ปั้นช้างศึก ประกอบด้วยเครื่องผูกและแต่ง ขนาด ๑๕ นิ้ว ตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์พระที่นั่งวิมานเมฆ และห้องกาแฟ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
  • -พระรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขนาดครึ่งพระองค์
  • -พระรูปสมเด็จพระญาณสังวร (พระสมณศักดิ์ขณะนั้น) จำนวน ๒๕ องค์
  • -ปั้นต้นแบบสร้างเหรียญหลวงปู่แหวน รุ่นรวมใจ รุ่น ภ.ป.ร. รุ่น ส.ก. รุ่น ม.ว.ก. รุ่น สิรินธร และรุ่น จ.ภ.
  • -ปั้นต้นแบบสร้างเหรียญหลวงปู่ขาว
  • -ปั้นต้นแบบสร้างเหรียญพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระรูปสมเด็จพระสุริโยทัย
  • -ปั้นรูปจากวรรณคดีไทยตามพระราชเสาวนีย์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เช่น ไกรทอง ชาละวัน นางวิมาลา สุดสาครขี่ม้ามังกร มโนราห์กับพรานบุญ หนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา พระรามตามกวาง ฯลฯ
  • -พระประธานขนาดเท่าจริง ตามพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ


Cr. >> http://www.zcooby.com/khaimook-chooto-biography/