วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคในการเลือกคณะและจัดอันดับ

หัวใจของการสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประการหนึ่งคือ การเลือกคณะ และจัดอันดับในการเลือกคณะได้สอดคล้องกับความสามารถของนักเรียนเอง ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า ถึงแม้ว่าเราจะมีความชื่นชอบที่จะเรียนในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่สาขานั้นเป็นสาขาที่ผู้เลือกส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ทำคะแนนได้สูงกว่าความสามารถของนักเรียนมาก ถ้านักเรียนเลือกคณะนั้นโอกาสที่นักเรียนจะสอบติดในคณะนั้นก็เป็นไปได้ยากดังนั้นในการพิจารณาเลือกคณะและจัดอันดับ จึงควรคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการเลือกที่เหมาะสมกับตนเองที่สุด ทั้งในด้านสติปัญญา ความสามารถ ความชอบ ความถนัด และสุขภาพ ฯลฯ โดยมีขั้นตอนที่ควรพิจารณาดังนี้เทคนิคในการเลือกคณะการที่นักเรียนจะเลือกคณะอะไรบ้าง มีหลักเกณฑ์ที่ควรดูพิจารณาดังนี้1.ต้องรู้จักตนเองและสภาพแวดล้อม1.1 รู้ถึงความสามารถทางด้านวิชาการของตนเองในการเลือกคณะนั้นควรเลือกคณะที่มีความเหมาะสมกับระดับผลการเรียน และผลการสอบของตนเองอย่างแท้จริง ไม่เลือกสูง หรือต่ำกว่าความสามารถของตนเองจนเกินไป เช่น เลือกคณะทันตแพทย์ จุฬา ทั้งที่เรียนได้เกรด 1 กว่า หรือ 2 เล็กน้อย และสอบได้คะแนนรวม = 15,000 คะแนน ในขณะที่คะแนนต่ำสุดในปี 2553 = 22,915.00 คะแนน ก็นับว่าเลือกสูงไป1.2 ความชอบ/ความถนัด/ความสนใจของตัวเองควรเลือกพิจารณาตามลำดับความชอบจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลที่สนใจหรือชอบสิ่งใด ย่อมจะมีแรงจูงใจในการกระทำมากกว่าสิ่งที่ไม่ชอบ ดังนั้นคณะที่นักเรียนเลือกควรเป็นคณะที่นักเรียนสนใจจะศึกษาจริงๆ และเหมาะกับความสามารถของตนเองอย่างแท้จริง ไม่ควรเลือกตามเพื่อน หรือตามค่านิยม โดยไม่ดูความถนัดและความสนใจของตัวเอง เช่น ชอบเรียนฟิสิกส์ ชอบต่อวงจรไฟฟ้า ก็ควรเลือกเรียนทางด้านวิศวกรรม ชอบวาดรูป ก็อาจจะเลือกทางด้านศิลปะ เป็นต้น1.3 ลักษณะนิสัยส่วนตัวเพราะอาชีพหลายอาชีพต้องการบุคคลที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะด้าน เช่น งานด้านศิลปะ หรืองานด้านแพทย์-พยาบาล เป็นต้น1.4 สุขภาพและลักษณะร่างกายเพราะบางคณะกำหนดคุณสมบัติเฉพาะไว้ เช่น ส่วนสูง,สายตา หรือโรคบางโรค หรือความพิการในอวัยวะบางส่วนของร่างกาย ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียน และการประกอบอาชีพในอนาคต เป็นต้น1.5 ดูความต้องการของญาติพี่น้อง และฐานะทางครอบครัวประกอบด้วยว่า จะได้รับการสนับสนุนให้เข้าศึกษาในคณะนั้นมากน้อยเพียงใด หรือฐานะทางบ้านสามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายได้ตลอดระยะเวลาในการศึกษาหรือไม่2.ต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับคณะ/สถาบันต่างๆ2.1 ในการพิจารณาเลือกคณะ อย่าลืม!ศึกษาคุณสมบัติ และเกณฑ์ในการสมัครเข้าศึกษาในคณะ/สถาบันนั้นๆ ด้วย เพราะแต่ละมหาวิทยาลัย/สถาบันจะกำหนดกฎเกณฑ์ออกมาหลากหลาย แม้แต่สาขาเดียวกันแต่ต่างสถาบันก็ยังมีเกณฑ์ครบสมบัติที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปรัชญาของแต่ละสถาบัน ดังนั้น นักเรียนจึงต้องศึกษารายละเอียดให้ดรก่อนว่า เรามีคุณสมบัติตามที่คณะต้องการหรือไม่ถ้านักเรียนมีคุณสมบัติไม่ครบตามข้อกำหนดที่ได้กำหนดไว้ ก็ไม่ควรเลือกเพราะจะทำให้โดนตัดสิทธิ์เช่นเดียวกัน ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจเลือกคณะ จึงควรศึกษาคุณสมบัติและข้อกำหนดของคณะนั้นๆ ให้ชัดเจนและเข้าใจเสียก่อน หากยังไม่แน่ใจควรศึกษา หรือถามผู้รู้ก่อน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของตัวนักเรียนเอง2.2 คณะที่เราสนใจนั้นมีกี่มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนและสภาพในแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร เช่น ที่ตั้ง, ระบบการเรียนการสอน, วิชาที่เรียน, การวัดผล, บรรยากาศโดยทั่วไปเป็นอย่างไร ถ้านักเรียนสอบเข้าคณะนั้นได้ นักเรียนจะเรียนหรือไม่ (เพราะถ้าหากนักเรียนสอบเข้าไปได้และสละสิทธิ์ก็จะเป็นการไปกันที่ของคนอื้นที่ต้องการจะเข้าศึกษาในคณะนั้นจริงๆ)2.3 สัดส่วนการแข่งขันของแต่ละคณะ/สถาบันดูได้จากสถิติคะแนนสูง-ต่ำ ของบัณฑิตแนะแนว ที่มีข้อมูลจำนวนผู้สมัคร จำนวนผู้สอบผ่าน ข้อเขียน ของปีการศึกษา 2553 ไว้ หรือความนิยมของสถาบันว่ามีผู้สนใจเลือกสมัครมากน้อยแค่ไหน2.4 จำนวนรับที่แต่ละมหาวิทยาลัย/สถาบันจะรับได้จำนวนที่รับมากอาจแข่งขันกันน้อยกว่าจำนวนที่ได้รับน้อยเทคนิคในการจัดอันดับในการสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษา ในระบบ  Admissions   ผู้สมัครแต่ละคนมีสิทธิเลือกคณะได้ 4 คณะซึ่งไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน และผู้ที่เลือกคณะเดียวกันแต่อันดับไม่ตรงกันก็มีสิทธิเท่ากันที่จะติดคณะนั้น ถ้าคณะเข้าถึงเกณฑ์ เช่น นาย  เลือกรัฐศาสตร์เป็นอันดับ  1  นาย เลือกรัฐศาสตร์เป็นอันดับ 3 ปรากฎว่าคะแนนเขาทั้งคู่ สูงกว่าคะแนนต่ำสุดของคณะรัฐศาสตร์  (คือทำคะแนนได้สูงกว่าคนสุดท้ายที่สอบเข้าคณะรัฐศาสตร์ได้)  เขาทั้งคู่ก็จะได้รับการคัดเลือกให้เข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์เหมือนกัน  สำหรับหลักเกณฑ์ในการจัดคณะมีหลักเกณ์ดังนี้1.รวบรวมคณะที่ตนเองพิจารณาว่าเหมาะสมแล้ว  ทั้งในแง่ความสามารถทางสติปัญญา  ความถนัดและความสนใจ อาจมากกว่า 4 คณะก็ได้ 2.นำคณะต่ำสุดของคณะทั้งหมดที่เลือกไว้  มาเรียงอันดับอีกครั้ง  เพื่อให้มีโอกาสในการเข้าศึกษาต่อมากยิ่งขึ้น  โดยเรียงอับดับคณะจากคณะที่มีคะแนนต่ำสุดที่  “มากที่สุด”  ไว้เป็นอันดับแรก  คณะที่มีคะแนนต่ำที่สุด “น้อยกว่า” รองลงมาเรื่อยๆ เช่น                 นางสาวนิด  เลือกคณะที่ต้องการ  4  คณะโดยเรียงจากความชอบได้ดังนี้
คณะ
สถาบัน
คะแนนต่ำสุด
%ต่ำสุด
ทันตแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22,915.00
76.38
เภสัชศาสตร์ -เภสัชศาสตร์
มหิดล
20,356.50
67.86
พยาบาลศาสตร์
เชียงใหม่
17,714.55
59.05
พยาบาลศาสตร์
ขอนแก่น
18,668.35
62.23
                ในการสมัครคัดเลือกเข้าศึกษานางสาวนิด ควรเรียงอันดับคณะดังนี้อันดับที่ 1 คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ                             คณะต่ำสุด             22,915.00 (76.38)
อันดับที่ 2 คณะเภสัชศาสตร์ เภสัชศาสตร์ .มหิดล               คณะต่ำสุด             20,356.50 (7.86)
อันดับที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์   .ขอนแก่น                       คณะต่ำสุด             18,668.35 (62.23)
อันดับที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์   .เชียงใหม่                      คณะต่ำสุด             17,714.55 (59.05)
หมายเหตุ                 ในการจัดเรียงอันดับด้วยวิธีนี้เหมาะกับการจัดเรียงคณะที่มีเงื่อนไขต่างๆ  เหมือนกัน เช่น จำนวนวิชาสอบ,ค่าน้ำหนักคะแนน  แต่ถ้าคณะที่มีความแตกต่างกัน  เช่น  วิชาสอบไม่เหมือนกัน ค่าน้ำหนักแตกต่างกัน ก็ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ด้วยว่าจะเรียงอันดับคะแนนอย่างไร3.การจัดอันดับโดยคร่าวๆทั่วไปมีลักษณะดังนี้ - อันดับ 1 หรือ อันดับ 1 ถึง 2   เลือกคณะที่เราอยากเรียนจริงๆ  คือ ชอบมาก  แต่ไม่ควรให้คะแนนสูงกว่าความสามารถจนเกินไปอันดับ 3 หรือ อันดับ 2 ถึง 3 เลือกประเภทวิชาที่เราชอบอยู่บ้าง และคะแนนควรรองๆ ลงมา
-
- - อันดับ 4 ให้เลือกคณะที่มีคะแนนต่ำที่สุดเท่าที่คิดว่าพอจะเรียนได้ถ้าสอบติด  โดยคณะที่เลือกเป็นอันดับที่ 4 ควรมี คะแนนต่ำสุดไม่สูงกว่าคะแนนรวมที่นักเรียนทำได้3.ข้อควรระวังในการเลือกคณะและจัดอันดับ1.ไม่ควรเลือกสถบันยอดนิยมทั้งหมด 4 อันดับควรเลือกปะปนสถาบันที่มีความนิยมรองๆ ลงไป หรืออย่าเจาะจงว่าต้องเป็นสถาบันนั้นๆ สถาบันนี้ ขอให้พิจารณาคณะ/สาขาวิชาที่นักเรียนมีความสนใจ ความชอบที่จะเรียน ตลาดแรงงานมีความต้องการ และ คะแนนสูง-ต่ำในปีที่ผ่านๆมา ไม่สูงเกินความสามารถของตน2.ไม่ควรเลือกคณะตามใจผู้อื่นควรถือหลักว่า "ไม่มีใครรู้จักตัวเราและรู้ความต้องการของตนได้มากไปกว่าตนเอง" สิ่งสำคัญ คือ เลือกเพราะอยากจะเรียน อยากประกอบอาชีพนั้นจริงๆ ถ้าผู้ปกครองมีความคาดหวังในบางคณะ/บางสาขาวิชาที่ไม่ตรงกับความต้องการองนักเรียน ควรหันหน้ามาปรึกษากันด้วยเหตุผล3.ไม่ควรเลืกคณะที่มีจำนวนวิชาสอบแตกต่างกันมากควรเลือกคณะที่สอบวิชาน้อยแต่เลือกคณะได้ครบ 4อันดับ เพื่อจะได้มีเวลาดูหนังสือได้เต็มที่ ซึ่งถ้าเป็นระบบ Admissions นั้น ก็ควรในส่วนของการสอบ วิชา PAT ว่ามีวิชาที่ต้องสอบแตกต่างกันอย่างไร ถ้านักเรียนเลือกกลุ่มสาขาที่จะเรียนแตกต่างกันมาก จะทำให้ต้องสอบวิชา PAT มากขึ้น4.ไม่ควรเลือกคณะที่มีคะแนนต่ำสุดติดหมดกันหมดอันตรายมากควรเลี่ยงเสีย โดยหันไปพิจารณาเลืกคณะเดียวกันของมหาวิทยาลัยอื่นที่อาจจะมีคะแนนต่ำกว่าเข้ามาแทนก็ได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้มีการทิ้งช่วงคะแนนบ้าง สำหรับการทิ้งช่วงห่างของคะแนนต่ำสุด ให้พิจารณาจากระดับความสามารถทางวิชาการและสติปัญญาของตนเป็นเกณฑ์ กล่าวคือ หากเป็นคนเรียนเก่ง ช่วงห่างของคะแนนก้ไม่ต้องมากนัก แต่ผู้มีผลการเรียนปานกลางหรือต่ำควรทิ้งช่วงห่างคะแนนมากๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น