วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

โชแปง(Chopin)

 โชแปง มีฉายาว่า กวีแห่งเปียโน (Piano Poet) เขาคือ คิตกวีที่โด่งดังแห่งดนตรียุคโรแมนติค (Romantic Music) ยุคที่การเล่นดนตรีมรการแทรกอารมณ์ลงในเพลง ซึ่งต่างจากยุคก่อนๆ
           โชแปง เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2353 (ค.ศ.1810) แต่ในบันทึกของสังฆมณฑลบอกว่าเป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่เมือง เซลาโซวา โวลา (Zelazowa Wola) ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศโปแลนด์ มีแม่เป็นคนโปแลนด์เขาจึงเป็นชาวโปแลนด์ตามเชื้อสายของแม่ และพ่อเป็นคนฝรั่งเศษผู้ซึ่งมายังโปแลนด์เพื่อสอนภาษา ตอนที่เกิดโชแปงมีชื่อว่า Fryderyk Franciszek Chopin บางครั้งจะเขียนว่า Szopen มีชื่อเป็นภาษฝรั่งเศสว่า Frederic Francois Chopin (เฟรเดริก ฟรองซัว โชแปง ) โชแปงมีพี่น้องผู้หญิงอีก 3 คน โดยเขาเป็นลูกผู้ชายเพียงคนเดียวของครอบครัว 

ภาพ Chopin's Birthplace
ที่มา olgabordas.com
           เขาเป็นเด็กผู้ชายที่มีรูปร่างบอบบาง เขามีจิตใจอ่อนไหวง่าย เป็นเด็กที่รักธรรมชาติ  ในวัยเด็กถือได้ว่าโชแปงอยู่ครอบครัวที่ฐานะดีก่อนที่จะมายากจนในภายหลัง เขาได้รับการเลี้ยงดูและสอนหนังสืออยู่ในกลุ่มของลูกผู้มีการศึกษาในโรงเรียนที่พ่อสอน

           "พรสวรรค์"ใน เรื่องดนตรีของโชแปงได้ฉายเเววขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก ในวันที่แม่เล่นเปียโนให้ลูกๆฟัง เด็กน้อยชูแปงกลับร้องไห้โยเย ทำอย่างไรก็ไม่หยุดร้อง จนแม่ต้องอุ้มโชแปงไปนั่งที่ตักก่อนที่จะเริ่มเล่นเปียโนอีกที นั้นเองเด็กน้อยโชแปงจึงหยุดร้อง และตั้งใจฟังเพลงที่แม่บรรเลงอย่างเงียบกริบด้วยความอยากรู้ จากนั้นเองแม่จึงตัดสินใจส่งโชแปงไปเรียนเปียโน ตั้งแต่อายุ 6 ขวบกับ Wojciech Zywnyครูผู้ชื่นชอบดนตรีของ Bach , Mozart และ Beethoven และเมื่อเรียนได้เพียงหนึ่งปี อัจริยะผู้นี้ก็ก็แต่งเพลงได้ คือเพลง Polonaise in G Mino และออกแสดงต่อสาธารณะชนครั้งแรกในปีถัดมา ซึ่งมีอายุเพียง 8 ขวบเท่านั้น โดยบรรเลงเพลงคอนแชร์โตประพันธ์โดย Gyrowetz  นิ้วที่พลิ้วไหวและดนตรีที่มีอารมณ์ทำให้ชื่อเสียงของโชแปงเริ่มเป็นที่ร่ำลือ และเมื่ออายุ 15 ปี เขาก็ได้บรรเลงเพลง Rondeau for Piano, Opus 1 ผลงานประพันธ์ชิ้นแรกของเขาต่อหน้าสาธารณชน และชื่อเสียงของโชแปงก็ร้อนแรงตั้งแต่อายุเพียงแค่สิบกว่าปีเท่านั้น จนได้รับการขนานนามว่า “โมซาร์ตคนที่ 2” (second Mozart)

ภาพ ภาพวาดโชแปงเล่นดนตรี
ที่มา thummada.com
           โชแปงเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนดนตรีแห่งกรุงวอซอร์ (Warsaw Conservatory) โดยได้มาเรียนกับ Joseph Elsner ซึ่งเป็นครูเปียโนโดยตรง และเป็นผู้จัดการของ Warsaw Conservatory โดยเน้นศึกษาทฤษฎีดนตรี harmony counterpoint และ การประพันธ์เพลง  
           โชแปงเป็นเด็กหนุ่มที่มีสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรง  ในฤดูร้อนโชแปงจึงชอบไปพักผ่อนแถวชนบท เพื่ออยู่รับอากาศบริสุทธิ์ แต่ก็ดีที่บรรยากาศได้สร้างแรงบันดาลใจให้โชแปงประพันธ์เพลงออกมา โดยส่วนหนึ่งของเพลงที่แต่งนั้นก็มาจากเลือดรักชาติที่เข้มข้นของเขานั้นเอง เช่น เพลง POLONAISE ซึ่งเป็นเพลงที่ แสดงออกถึงความรักชาติโปแลนด์ และความรู้สึกรักชาติ รักมาตุภูมินี้คือสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเขาไปตลอดชีวิต
           โชแปงเดินสายแสดงคอนเสิร์ตไปทั่วยุโรป แต่เรื่องร้ายๆก็เกิดขึ้น เมื่อรัสเซียได้บุกยึดประเทศโปแลนด์  ทำให้โชแปงจึงไม่ได้กลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนอีกเลยจนกระทั่งเสียชีวิต คีตกวีเอกของโลกผู้นี้ ใช้ชีวิตเกือบ 20 ปีอยู่ในดินแดนที่ไม่ใช่บ้านเกิดของเขา มีแต่เพียงก้อนดินของโปแลนด์ที่นำติดตัวเอาไว้เตือนใจ ด้วยความเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนไหวง่าย โชแปงมีความรู้สึกหดหู่อย่างมากกับการที่ต้องรับรู้ว่าชาวโปแลนด์ถูกผุ้รุกรายทารุณกรรมอย่างโหดร้าย สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้เขาเขียนเพลงเพื่อมาตุภูมิ และหารายได้จากความสามารถทางดนตรีเพื่อช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติ 

ภาพ Frederic Francois Chopin
ที่มา 
www.joystiq.com 
           ในปี 1830 โชแปงเดินทางจากโปแลนด์ไปสู่เทศฝรั่งเศส ที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมแห่งหนึ่งในยุโรป โชแปงมีอาชีพเป็นครูสอนดนตรีให้กับลูกหลานของขุนนางเศรษฐี พวกเด็กๆต่างรักครูโชแปง เพราะเขาไม่หวงวิชา และสอนด้วยความตั้งใจเต็มที่

           ที่ปารีสเขาได้พบกับเพื่อนนักดนตรีที่มีความสามารถ ซึ่งต่อมาพวกเขาเหล่านี้ก็คือ นักดนตรีและนักประพันธ์เพลงชื่อดังแห่งยุคโรแมนติด เช่น Franz Liszt), Vincenzo Bellini, Cherubini, Liszt, Meyerbeer และ Rossini 

           แม้จะมีเพื่อนเป็นนักดนตรีชื่อดังในยุคโรแมนติด แต่ในใจของโชแปงนั้น กลับหลงใหลบทเพลงของ เจ.เอส.บาค ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงในยุคบาร็อค และ วูฟล์กัง อมาดิอุส โมสาร์ท นักแต่งเพลงในยุคคลาสสิค ถึงกับในช่วงสุดท้ายของชีวิตได้ขอให้นำเพลงของโมสาร์ทมาบรรเลงในงานศพของเขา   

ภาพ ภาพวาดโชแปงเล่นดนตรีในปารีส
ที่มา 
www.weltchronik.de 
           แม้ในด้านของดนตรี โชแปงจะรุ่งโรจน์ แต่ในด้านสุขภาพกลับร่วงโรย ในช่วงกลางทศวรรษ 1830 สุขภาพของโชแปงได้เริ่มทรุดโทรมลงเรื่อยๆ

           เขาก็เป็นนักเปียนโนที่ยอดเยี่ยม ผลงานของโชแปงแทบทั้งหมดเป็นประเภทดนตรีสำหรับเปียโน สำหรับผลงานที่เด่นๆ ก็เช่น Ballade No.1 in G minor, Berceuse in D flat, Funeral March Piano Concerto No.1 in Em 1830, Twelve Etudes in Gb 1830, Mazurka in Cm 1830-49, Nocturne in C Sharp minor, Nocturne in Eb 1830-46 และ Waltz in E flat

ในดนตรีมีความรัก 
กล่าวกันว่าคีตกวีหนุ่มผู้นี้เป็นคนอ่อนไหวเรื่องความรักมากทีเดียว
           ในวัยหนุ่มอายุประมาณ 19 ปี โชแปงแอบรักนักร้องหญิงคนหนึ่งในการแสดงอุปรากร เธอชื่อ คอสทันย่าย่า แม้จะไม่กล้าเอ่ยปากบอกรัก แต่ก็ถึงกับแต่งเพลงให้เธอท่อนหนึ่งใน Piano Concerto No.2 in F minor ทั้งคู่ได้มีโอกาสร่วมงานกันครั้งหนึ่ง แต่หลังจากนั้นสองปีต่อมาเธอก็แต่งงานไปกับพ่อค้าผู้มั่งคั่งแห่งวอร์ซอว์

           จากนั้น โชแปงก็มาตกหลุมรักหญิงสาวผมดำยาวสลวย ที่ชื่อ มาเรีย ว้อดซินสก้า น้องของเพื่อนที่เยอรมนี และในครั้งนี้โชแปงก็แต่งเพลงให้เธออีกเช่นกัน นั้นคือ Nocturne No.1 Bb และถึงขนาดย้ายไปพักอยู่ที่บ้านของเธอนานนับเดือนแต่ในที่สุดก็ตัดใจลาจากกัน และมาเรียก็ได้แต่งงานไปกับท่านเคาน์โยเซฟ สตาร์เบค

           แต่ความรักของโชแปงที่โลกรู้จักก็คือ รักระหว่างเขากับ ออโรร์ ดือ เดอวองต์ (Aurore Dudevant) นักเขียนผู้มีนามปากกา ยอร์ช ชังค์(George Sand) ซึ่ง Jerzy Antczak ผู้กำกับชาวโปแลนด์ ได้นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ความรักที่งดงามในชื่อ Chopin-Desire for Love

ภาพ Chopin-Desire for Love
ที่มา img88.imageshack.us
           ยอร์ช ชังค์  เป็นนักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศส เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ ฟิกาโร และ เรอวู เดอ ปารีส์ เธอมีอายุมากกว่าโชแปง 6 ปี และเป็นแม่ม่ายลูกติด ยอร์ช ชังค์  ไม่ใช่ผู้หญิงอ่อนหวานในแบบที่โชแปงเคยหลงรัก เธอเป็นหญิงแกร่ง ทำให้เขาประทับใจในความเก่งกล้า และความเข้มแข็งของเธอ ในปี ค.ศ. 1837 ทั้งคู่เริ่มมีความสัมพันธ์กัน และโชแปงได้ไปอยู่กับเธอและลูกๆ ทั้งคู่ท่องเที่ยว  และเป็นแรงบันดาลใจให้กันและกัน แต่หลังๆ ความสัมพันธ์ก็เริ่มไม่ราบรื่น ทั้งด้านความรัก ความสัมพันธ์กับลูกติดของ ยอร์ช ชังด์ และการเงิน  โชแปงยังคงตระเวณแสดงคอนเสิร์ตเพื่อนำเงินไปช่วยพี่น้องร่วมชาติชาวโปแลนด์ในการต่อสู้เพื่อเรียกรองเอกราช ในระหว่างนี้โชแปงยังประพันธ์เพลงไปด้วยแต่ก็สูญเสียความกระตือรือร้นในการประพันธ์เพลงลงไปมาก และจากสภาพครอบครัวที่มีรอยร้าว ประกอบกับตัวเขาเองที่เป็นวัณโรค  อะไรๆก็เริ่มย่ำแย่ ในที่สุดความรักก็ต้องปิดฉากลงในปี ค.ศ.1847  

ภาพ Chopin and George
ที่มา portraits.alsegno.se
           2 ปีต่อมา อาการวัณโรคของเขาทรุดหนัก เขาแสดงเปียโนต่อหน้าสาธารณชนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์1848 ที่กรุงปารีส หลังจากนั้นโชแปงช่วยหนักจนต้องเขียนจดหมายไปถึงแม่ที่โปแลนด์ให้ขอยืมเงินมาให้เขาด้วย น้องสาวจึงเป็นผู้นำเงินมาหาเขาที่ปารีส ก่อนตายโชแปงบอกน้องสาวว่าให้นำ "หัวใจ" ของเขากลับบ้านที่โปแลนด์ด้วย
           รุ่งสางของวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1849 เขาก็สิ้นชีวิตด้วยอายุเพียง 39 ปี งานศพของเขา มีวง Paris Conservatory Orchestra และวงประสานเสียงบรรเลงเพลง “เรควิม” ( Requiem )  ของโมสาร์ท ซึ่งเป็นเพลงที่โชแปงชอบมาก ตามที่เขาขอร้องไว้ก่อนตาย มีคนกว่า 3000 คนมาร่วมพิธีศพครั้งนี้  และในขณะที่โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม ดินจากโปแลนด์ที่โชแปงได้นำติดตัวมาตลอด ก็ได้ถูกโปรยลงไปในหลุมฝังศพด้วย 
ที่หลุมฝังศพของเขามีคำจารึกว่า
พักอยู่ในความสงบ 
วิญญาณอันงดงาม 
ศิลปินผู้สูงส่ง 
ความไม่มีวันตาย
ได้เริ่มขึ้นแก่ท่านแล้ว

ภาพ อนุสาวรีย์โชแปงในโปแลนด์
อ้างอิง : http://www.vcharkarn.com/varticle/39693

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น